ปิดทวารโฆษปัญโญ
หลวงปู่คำพัน โฆษปัญโญ (พระครูสุนทรธรรมโฆษิต)
วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม
ภาพ : พยุงศักดิ์ เศรษฐมาตย์
ความจริงผมไม่อยากเขียนถึงพระปิดทวารรุ่นนี้ เพราะเหตุว่าเป็นพระที่สร้างขึ้นเป็นส่วนตัวเฉพาะกลุ่มไม่ได้ทำออกแพร่หลาย จนทั่วถึง แต่ว่าคุณสุวิทย์ เกิดพงษ์บุญโชติ ซึ่งได้รับมอบพระปิดทวารรุ่นนี้ไปหนึ่งองค์ ได้ออกความเห็นว่าควรเขียนไว้เพื่อเป็นไปในทำนองบันทึก เผื่อว่าต่อไปภายหน้าพระได้พลัดไปอยู่กับใครจะได้รู้จักกัน
ไม่ได้เขียนไปในทำนองเชียร์กันเอง (พระชุดนี้ไม่ทำขึ้นเพื่อขาย)
แต่บันทึกเอาไว้ให้เป็นหลักฐานเท่านั้น
ผมก็ไม่ว่าอะไรหรอกครับ ถ้าเขียนแล้วจะทำให้ใครมีความเห็นไปอย่างไร
เพราะว่าได้ตั้งเจตนาเอาไว้ว่า จะทำบันทึกก็ต้องเป็นการบันทึกไม่เป็นไปเพื่ออย่างอื่น
มูลเหตุที่เกิดพระปิดทวารโฆษปัญโญ
เช้า วันที่ 14 มีนาคม 2535 คุณสันต์ (ไม่ทราบนามสกุล) เจ้าของร้านอุบลนิยมศิลป์ ในเมืองอุบลฯ ได้โทรศัพท์ถึงผมเพื่อแจ้งข่าวว่าหลวงปู่คำพัน โฆษปัญโญ จะเดินทางมานั่งปรกปลุกเสกพระที่วัดศรีเจริญ อ.หัวตะพาน จ.อุบลฯในตอนเย็นของวันนี้ และได้ชักชวนกันว่าน่าจะได้ไปกราบท่านกัน เพราะว่าท่านได้เดินทางจนถึงจังหวัดอุบลฯ แล้วอย่างนี้ ไม่ต้องไปกราบท่านถึงนครพนมอย่างเก่า
เมื่อทราบข่าวว่าท่านจะมาที่ วัดศรีเจริญแน่ชัดแล้ว ทุกคนก็มาชุมนุมกัน และเกิดการปรึกษาหารือว่าใครจะเอาพระอะไรไปเข้าร่วมพิธีกันบ้าง ต่างก็คิดจะเอาพระของตนเองที่มีอยู่ไปเข้าพิธีกันทั้งนั้น แต่ผมกลับเห็นว่าไหน ๆ ท่านก็มาถึงเมืองอุบลฯ แล้วควรที่จะได้ทำพระขึ้นมาสักชุดหนึ่งไปเข้าพิธีดีกว่า แต่ปัญหามีว่าจะทำพระอะไรให้ทันเวลา เนื่องจากว่าเวลามีน้อยมาก คือแค่วันเดียวเท่านั้น
ทุกคนเห็นว่าไม่มีทางทำได้ แต่ผมกลับเห็นว่าทำได้และอาสาจะทำ โดยเอาบล้อคพระปิดทวารด้านหน้าซึ่งผมมีอยู่แล้ว เป็นบล้อคที่ทำถวายหลวงปู่พรหมา เขมจาโร ไว้ตั้งแต่ปี 2534 ผมเก็บล้อคด้านหน้าไว้ ส่วนด้านหลังถวายหลวงปู่พรหมาทำลายทิ้ง เมื่อมีบล้อคด้านหน้าอยู่แล้ว ก็มีทางที่จะทำพระได้ทันเวลา เพราะว่าแค่ทำบล้อคด้านหลังขึ้นใหม่เท่านั้นเป็นอันใช้ได้
ผมจึงบอกทุกคนว่าจะทำ
และลงมือทำบล้อคด้านหลังด้วยตัวเองทันที
โดยทำเป็นรูปยันต์มหาปรารถนาตรงกลาง ด้านล่างลงนามฉายาของหลวงปู่คำพันไว้ว่า “โฆษปัญโญ”
ขั้นตอนการสร้าง
วิธีทำบล้อคด้านหลังนั้นผมได้หล่อขี้ผึ้งเป็นหุ่นพระไว้แล้วแกะยันต์มหาปรารถนาและนา
มฉายาของหลวงปู่ลงไป
จาก นั้นก็ถอดพิมพ์ด้วยปูนพิเศษ เพื่อให้เป็นบล้อคที่แข็งแกร่งพอจะปั๊มพระได้ ซึ่งใช้เวลาทั้งหมดในการทำบล้อคด้านหลังไม่เกิน 1 ชั่วโมงเสร็จ
คุณ สันต์ได้นำพระหักและชำรุดมาหลายองค์เพื่อบดเข้าผสมในเนื้อพระปิดทวารรุ่นนี้ มีพระของวัดประสาทบุญญาวาสประมาณ 3 องค์ และพระของครูบาอาจารย์ต่าง ๆ อีกหลายองค์ ที่สำคัญยิ่งคือ มีพระสมเด็จวัดวิเวกของท่านเจ้าคุณนรฯ ด้วย 1 องค์
เฉพาะเพราะวัดวิเวกนั้นสภาพพระยังอยู่ในเกณฑ์ดี ผมบอกคุณสันต์ด้วยความเสียดายพระว่า อย่าบดเลย พระวัดวิเวกหายากและแพงมาก ราคาขึ้นหลักหมื่นตั้งนานมาแล้ว คุณสันต์ชั่งใจอยู่พักหนึ่งก็ตัดสินใจเสียสละพระ ออกคำสั่งเด็ดเดี่ยวว่าบด
ในการบดพระให้เป็นผงนั้น ได้เซียงเวทย์เป็นผู้ลงมือบด คนอื่นไม่กล้า กลัวจะเป็นอะไรไปวุ่นวายตามแต่จะคิดกลัว
เซียงเวทย์ เป็นผู้ที่หลวงปู่คำพันเมตตาเอ็นดูเป็นพิเศษ สมัยก่อนบวชเณร พอสึกแล้วก็เรียกว่าเซียง เมื่อมีชื่อว่าเวทย์ก็ต้องเรียกว่าเซียงเวทย์ เช่นเดียวกับสึกจากพระแล้วเรียกว่าทิดนั่นแหละครับ
เมื่อได้ผงพระบด แล้วผมได้นำมาผสมผงดินพระธาตุพนมและดินพระธาตุท่าอุเทน และยังมีผงพระรุ่นฉลอง 90 ปีของหลวงปู่พรหมาผสมลงไปด้วย เฉพาะผงของหลวงปู่พรหมานั้นมีความพิสดารไม่น้อย นอกจากจะเป็นผงอิทธิเจมหาลาภเขียนลบอยู่ 84,000 ครั้งแล้ว ยังมีผงเหล็กน้ำพี้ 9 บ่อ ผงทองคำขาว ว่าน 108 ผสมอยู่ด้วยกัน
ผมนำ เอาผงทั้งหมดมาผสมกัน โดยแยกออกเป็น 2 เนื้อ อย่างแรกออกสีแดงหม่นชมพู เพราะว่ามีดินพระธาตุมาก อย่างที่ 2 สีออกเหลืองอมแดงอมเทา บอกไม่ถูกเพราะว่าแก่เนื้อพระที่บดมาผสมมาก เราเรียกเนื้อนี้ว่าเนื้อพิเศษ โดยใช้ยางบงที่สั่งมาจากป่าเมืองลาวเป็นตัวประสาน จึงนับว่าเป็นพระที่ทำขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติมากที่สุดอีกแบบหนึ่ง
จำนวนสร้าง
หลัง จากกดพิมพ์พระตั้งแต่ตอนสายของวันที่ 14 ไปจนถึงตอนบ่าย 2 โมง ได้พระเนื้อแก่ดินพระธาตุจำนวน 80 องค์ ได้เนื้อแก่ผงพระวัดวิเวกจำนวน 44 องค์ รวมเป็น 124 องค์
พระไม่แห้ง
เกิด ปัญหาว่าพระยังแห้งไม่สนิท จะเอาไปเข้าพิธีได้อย่างไร เวลาก็กระชั้นเข้าทุกที ไม่ทราบว่าพิธีพุทธาภิเษกจะเริ่มเมื่อไหร่ คงคาดหมายเอาว่าน่าจะเริ่มราว 6 โมงเย็น ดังนั้นแม้พระไม่แห้งก็ต้องนำพระไปให้ทันพิธี
ตกลงได้ออกเดินทางไปวัดศรีเจริญโดยขับรถไปตากพระไปด้วย
กราบเรียนหลวงปู่
ไปถึงวัดราว ๆ 5 โมงเย็น หลวงปู่มาถึงวัดแล้ว ขณะนั้นท่านพักอยุ่ในห้องบนกุฏิใหญ่ ข้างพระอุโบสถวัดศรีเจริญ พวกเราเข้าไปกราบท่าน
ลืม บอกไปอย่างหนึ่งว่าระหว่างบดพระและปั๊มพระ ผมได้บ่นเสียดายพระวัดวิเวกอยู่สองสามครั้ง ทั้งบ่นจริง ๆ และบ่นเล่น ๆ เพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญของพระชุดนี้ว่าเรามีศรัทธาแค่ไหน ถึงกับยอมบดพระราคาหมื่นเข้าไปด้วย
เมื่อกราบหลวงปู่แล้วได้กราบ เรียนท่านว่า เราทราบข่าวว่าท่านจะมาพิธีพุทธาภิเษกที่นี่ จึงได้ทำขึ้นมาอย่างนี้ ท่านรับพระไปดูก็ยิ้มขำ ๆ กล่าวว่า
“ใครเป็นคนทำ ทำเร็วจัง” หลังจากนั้นได้พิจารณาพระอยู่ครู่หนึ่งท่านก็กล่าวต่อไปว่า “นี่ปิดหมดเลย ไม่ได้ปิดแต่ตา ดีแล้วให้เอาเข้าพิธีนี้”
พวกเราก็ หันมาปรึกษากันอยู่ต่อหน้าท่านว่าจะเอาเข้าพิธีกันอย่างไร เมื่อเข้าพิธีแล้วใครจะรอเอาพระกลับบ้าน ในเมื่อแต่ละคนก็ลำบากที่จะอยู่จนพิธีเสร็จในตอนเช้าของวันถัดไป ตกลงจะเอาเข้าพิธีเฉพาะช่วงที่หลวงปู่เข้านั่งปรก แต่ก็เกิดปัญหาว่าถ้าเอาเข้าพิธีแล้วยังไงก็เอาพระออกมาไม่ได้จนกว่าจะเช้า แม้หลวงปู่นั่งเสร็จแล้วกลับวัดธาตุมหาชัยแล้ว พระก็ต้องอยู่ในพิธีจนเช้า จะทำยังไง
ในที่สุดหลวงปู่ก็อนุญาตให้พระชุดนี้อยู่ในย่ามของท่าน จะได้เข้าและออกพิธีพร้อมกับท่าน พวกเราก็ดีใจจนบอกไม่ถูกในเมตตาที่ไม่มีประมาณของหลวงปู่
เลยกลายเป็นพระชุดเสกในย่ามหลวงปู่ เป็นพระรุ่นพิเศษไปอีกรุ่น
รู้วาระจิต
เมื่อ สรุปเรื่องนำพระเข้าพิธีเรียบร้อยแล้วว่า หลวงปู่เมตตานำพระชุดนี้เข้าพิธีโดยใส่ในย่ามของท่านเองเข้าไป พวกเราก็หมดกังวล เพียงแต่มารอหลวงปู่ออกจากพิธีเวลาเที่ยงคืนของคืนนี้ ก็จะรับพระกลับบ้านได้ (หลวงปู่เข้านั่งปรกเวลา 4 ทุ่มตรง ออกเที่ยงคืนตรง)
ระหว่าง นั้นหลวงปู่ได้กล่าวขึ้นลอย ๆ ว่า ที่มีคนมาขอสร้างพระรูปหลวงปู่นั่งในใบโพธิ์นั้น เขาบอกว่าได้ยินท่านเจ้าคุณนรฯ กล่าวทำนายว่า ต่อไปจะมีผู้สร้างรูปครูบาอาจารย์นั่งในใบโพธิ์มากมาย แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ในอนาคตจะมีพระในภาคอีสานสามารถที่จะประสบความสำเร็จเหมือนท่านเจ้าคุณนรฯ พระรูปนั้นจะต้องเสกปฐวีธาตุได้ด้วย พวกเขาคิดว่าพระรูปนั้นเป็นหลวงปู่เลยมาขอสร้าง
คำของท่านแทงใจผมอย่างจัง เพราะว่าใจผมมีเรื่องพระวัดวิเวกของท่านเจ้าคุณนรฯ รบกวนอยู่พอดี
เมื่อได้ยินอย่างนั้นผมก็ยินดีอย่างยิ่ง เรื่องรบกวนหายเป็นปลิดทิ้ง
ปลาบปลื้มปิติจนบอกไม่ถูก
เรื่อง รูปหลวงปู่นั่งในใบโพธิ์ มีคณะผู้สร้างขึ้นสองคณะคือ ศิษย์ทางจังหวัดอุดรธานี สร้างก่อน และศิษย์ทางอุบลฯ สร้างทีหลัง ใบโพธิ์หลวงปู่คำพันจึงมีอยู่ 2 รุ่น
ดูเหมือนว่าใบโพธิ์ทางด้าน จังหวัดอุบลฯ จะได้รับความนิยมน้อยกว่า แม้หลวงปู่จะเคยกล่าวถึงใบโพธิ์เมืองอุบลฯ ว่าต่อไปจะหายากก็ตาม ใบโพธิ์เมืองอุดรฯ ก็โลดแล่นไปไกลกว่า
แจกจ่ายพระปิดทวารโฆษปัญโญ
เมื่อหลวงปู่ออกจากพิธีแล้ว ได้มอบพระให้พวกเราทั้งหมด
และ ผมได้แจกให้คุณพิพัฒน์ ไกรกาญจน์ ซึ่งเป็นผู้ขับรถรับหลวงปู่มาวัดศรีเจริญ และจะต้องขับกลับไปส่งหลวงปู่ที่วัดธาตุมหาชัยในคืนนั้น
ผมให้คุณ พิพัฒน์แล้วก็ได้มอบให้คุณสนิทซึ่งเป็นผู้แกะพระงา ไม้รัก ไม้โพธิ์ลายเสือ ถวายหลวงปู่มาโดยตลอดอีกองค์หนึ่ง และมอบให้ใครอีกคนไม่ทราบที่มากับรถหลวงปู่และยังมีหมวดจงรักษ์อีกคนหนึ่ง ซึ่งมาด้อม ๆ มอง ๆ ขอไป
ตกลงได้แจกประเดิมไปในวัดศรีเจริญหลายองค์
หลังจากนั้นได้แบ่งพระให้คุณสันต์ไปครึ่งหนึ่ง
ตกลงกันว่าส่วนของคุณสันต์ให้แจกศิษย์ฝ่ายอำเภอเมือง ส่วนของผมแจกฝ่ายอำเภอวารินชำราบ ห้ามก้าวก่ายกัน
คนวารินไม่ยุ่งกับส่วนของคนอำเภอเมืองและ คนอำเภอเมืองก็ไม่ต้องมายุ่งกับส่วนของคนวาริน
พระ ได้แจกออกไปมากจนเกือบหมดในวันสองวันหลังพิธีเสร็จ ผมได้แบ่งออกมาจากพรรคพวกทางกรุงเทพบ้าง แจกให้คุณเง็ก บางลำภู 1 องค์ และอาจารย์อนันต์ สวัสดิสวนีย์ กับอาจารย์เบิ้ม คนละ 2 องค์
ที่จำไม่ได้ว่าแจกใครมั่งก็มีเยอะแยะ
ตอนนี้พระไม่มีจะแจกแล้ว
พระเนื้อผงรุ่นแรกที่มียันต์มหาปรารถนาเล็กที่สุด
อาจารย์ อนันต์ สวัสดิสวนีย์ นักสร้างพระมืออาชีพได้พิจารณาพระปิดทวารโฆษปัญโญ แล้วออกปากชมเชยว่าสวยดี เป็นพระเนื้อผงรุ่นแรกของหลวงปู่คำพัน ที่ทำยันต์มหาปรารถนาได้เล็กที่สุด แถมดูเป็นธรรมชาติดีที่สุด เพราะยันต์นั้นเขียนด้วยลักษณะลายมือเขียน
พระปิดทวารรุ่นแรก ที่มียันต์มหาปรารถนา
คุณสันต์เป็นผู้กล่าวว่านี่เป็นพระปิดตา (ทวาร) รุ่นแรกที่ด้านหลังเป็นยันต์มหาปรารถนา
ไปอเมริกา
น้อง สาวผมเดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านพอดีในช่วงนั้น ขอพระไปคุ้มครองและกราบไหว้ที่อเมริกา ผมได้มอบให้ไปทั้งหมด 3 องค์ สำหรับสามีของเธอและพี่สาวอีกคนของเธอ
ความจริงพระของหลวงปู่คำพัน นั้นใช่ แต่จะไปอเมริกาเท่านั้น ผมยังเคยมอบให้พี่สาวที่อยู่จีนแดงไปหลายองค์ ที่มอบไปจีนแดงนั้นเป็นพระปิดตาเนื้อดินเก้าบังที่เรียกว่ากิมจ๊อ และได้มอบเหรียญมหาปรารถนาไปอเมริกาก่อนหน้านั้นแล้วหลายปี
หลวงปู่คำพันส่วนของผมจึงไปอยู่กับคนต่างประเทศหลายองค์
นี่ก็บันทึกไว้อย่างนี้
ไม่หวังอะไรเกินกว่านี้หรอกครับ
(บล้อคปิดทวารโฆษปัญโญ ผมทำลายด้านหน้าแล้ว ส่วนด้านหลังคุณสันต์ก็เป็นผู้ทำลาย)
————-
ตีพิมพ์ครั้งแรกใน นิตยสารศักดิ์สิทธิ์ฉบับที่ 228