พระแก้วมรกตวัดบ้านโป่ง
กองสอดแนม “รักษ์มีแสง” แห่งบ้านโป่งราชบุรี ออกสอดแนมพระเครื่องดีส่งมาเป็นกำนัล เป็นผลงานสืบที่เข้าขั้นอีกชิ้นหนึ่ง
“พระแก้วมรกตเนื้อผงว่าน ที่เพียบพร้อมงดงามทั้งมวลสารและการเสกที่คนไม่ค่อยรู้จักว่าเป็นพระเครื่อง ของวัดอะไรมีปรากฏกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในสนามพระเครื่องบ้านโป่งและพื้น ที่ใกล้เคียง ผู้รู้จักยังพอควานหาได้ในราคาไม่แพง”
แม้ว่าพระแก้วมรกตวัดบ้านโป่ง ที่เป็นพระเครื่องดีรุ่นนี้จะหมดไปจากวัดบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรีนานแล้ว
ผู้ที่รู้จักก็ยังสอดส่ายค้นหากันได้อยู่บ่อย ๆ เสมอ
สืบหาพระเครื่องดี ที่กองสอดแนมไปสอดแนมมาในคราวนี้ จึงเป็นการสืบออกจากแผงพระเครื่อง ที่ใครสนใจก็ต้องสอดแนมหรือสืบหาเอา
จะควรค่าแก่การสืบหรือไม่ ให้ดูรายละเอียดต่อไปนี้
“สร้างปี พ.ศ.2509 เป้าหมายจะหาทุนบูรณะปฏิสังขรณ์วัดบ้านโป่ง ในการรวบรวมมวลสารต้องใช้เวลากว่า 5 ปี มีมวลสารหลักดังนี้ ผงว่าน 108, ผงวิเศษจากเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ 108 สำนัก, เกสรดอกไม้ 108, ดินหลักเมืองและดินจากสังเวชนียสถาน 4 แห่ง, ดิน 7 โป่ง 7 ท่า, ดอกไม้แห้งจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ 108 แห่ง, ผงกรุต่าง ๆ 108 กรุ, น้ำพระพุทธมนต์ 108 โบสถ์ และน้ำมนต์ในพิธี 25 พุทธศตวรรษ”
พิมพ์สามเหลี่ยม และพิมพ์สี่เหลี่ยม มีลักษณะของเนื้อพระออกจะแก่ว่านและผงเกสรดอกไม้ สีน้ำตาลอ่อนอมเหลือง พระดูไม่ค่อยแกร่งนักอาจกะเทาะได้ง่าย แต่โดยรวมแล้วพระยึดตัวดีพอสมควร
พระแก้วมรกตวัดบ้านโป่ง ออกจะเป็นพระว่านมากกว่าพระปูน
มีส่วนผสมของปูนน้อยกว่าเกสรและว่าน
มีน้ำหนักเบามีความงดงามอยู่ในตัวเองไม่น้อยกว่าพระแก้วมรกตของสำนักอื่น ๆ ทั้งเก่าหรือใหม่ (เสียดายที่ภาพประกอบไม่ชัดเจนเท่าที่ควร รักษ์ มีแสง ได้พยายามถ่ายภาพด้วยตัวเองอย่างที่สุดแล้ว)
ในการกระทำพิธีพุทธาภิเษกพระแก้วมรกตวัดบ้านโป่ง ได้ทำอย่างจริงจังถึง 4 ครั้ง ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
ครั้งที่ 1 วันเสาร์ที่ 3 กันยายน 2509 เวลา 10.20 น. คือฤกษ์จุดเทียนชัย
และมีคณาจารย์นั่งปรกอยู่ 14 รูป เป็นจำนวนตัวเลขมหาจักรพรรดิ
เจ้าคุณราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม
หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา
เจ้าคุณอินทเขมาจารย์ วัดช่องลม
เจ้าคุณพิบูลย์ธรรมวาที วัดปากท่อ
เจ้าคุณโพธารามคณารักษ์ วัดเฉลิมอาศน์
พระครูสาธุกิจวิมล วัดหนองดินแดง
พระครูปราสาทลังวรกิจ (หลวงพ่ออินทร์) วัดโบสถ์
พระครูปลัดพรหม วัดสัตตนาถปริวัตร
พระครูอนุรักษ์วรคุณ (หลวงพ่อสง่า) วัดหนองม่วง
พระครูประสิทธิ์ วัดอุบลวรรณาราม
พระครูอาจารโสภณ วัดกลางวังเย็น
หลวงพ่อแก้ว วัดหนองเอี่ยน
หลวงพ่ออ๊อด วัดโกสินารายณ์
และหลวงพ่อสำอางค์ วัดท่ากระทุ่ม
คณาจารย์ทั้งหมดมีสำนักอยู่ในจังหวัดราชบุรีเป็นส่วนใหญ่ มีมาจากนครปฐมกับกาญจนบุรีเพียงองค์สององค์
ครั้งที่ 2 วันเสาร์ที่ 10 เดือนปีเดียวกัน 9.30 น. จุดเทียนชัย
เจ้าคุณเทพลังวรภวิมล วัดเจริญสุธาราม สมุทรสงคราม
เจ้าคุณสมุทรสุธี วัดช่องลม ราชบุรี
เจ้าคุณอินทเขมาจารย์ วัดช่องลม
พระครูโพธาภิรมย์ (วัดบ้านเลือก) ราชบุรี
เจ้าคุณราชวชิราภรณ์ วัดยาง เพชรบุรี
พระครูวชิรรังษี วัดมฤคทายวัน เพชรบุรี
พระครูพรหมวิหารธรรม วัดพรหมวิหาร เพชรบุรี
พระครูอาจารโสภณ วัดกลางวังเย็น ราชบุรี
พระครูอาทรวชิรธรรม วัดพลับพลาชัย เพชรบุรี
พระครูบรรณกิจสุนทร วัดโพธาราม ราชบุรี
พระครูปลัดพรหม วัดสัตตนาถปริวัตร ราชบุรี
หลวงพ่อหวล วัดโพธิโสภาราม ราชบุรี
พระครูอนุรักษ์วรคุณ (หลวงพ่อสง่า) วัดหนองม่วง ราชบุรี
หลวงพ่ออ๊อด วัดโกสินารายณ์
พระครูปึก วัดสวนหลวง ราชบุรี
และหลวงพ่อสำอางค์ วัดท่ากระทุ่ม กาญจนบุรี
รวมทั้งหมด 17 รูป
ครั้งที่ 3 วันเสาร์ที่ 17 กันยายน เวลา 11.50 น. จุดเทียนชัย
หลวงพ่อแก้ว วัดป่า(เจ้าคุณวรพตปัญญาจารย์) วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี
พระครูโสภณประชานาถ (หลวงพ่อนาถ) วัดศรีโลหะราษฏร์บำรุง
หลวงพ่อหลิว วัดสนามแย้ กาญจนบุรี
หลวงพ่อหอม วัดซากมาก ระยอง
พระครูสถาพรพุทธมนต์ (หลวงพ่อสำเนียง) วัดเวฬุวัน นครปฐม
พระครูวิจิตรสารคุณ วัดลาดบัวขาว ราชบุรี
พระครูสุวรรสาธุกิจ (หลวงพ่อแดง) วัดทุ่งคอกสุพรรณบุรี
หลวงพ่อหวล วัดโพธิโสภาราม ราชบุรี
พระครูเมธาธิการ วัดโพธิบัลลังก์ บ้านโป่งราชบุรี
พระอาจารย์เงิน วัดจันทราม ราชบุรี
พระครูโพธาภิรมณ์ วัดบ้านเลือก ราชบุรี
พระอาจารย์ขันธ์ วัดศรีอารีย์ ราชบุรี
พระครูอนุรักษ์วรคุณ วัดหนองม่วง ราชบุรี
หลวงพ่อพิมพ์ วัดหุบมะกล่ำ ราชบุรี
หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ กาญจนบุรี
พระอาจารย์แสวง วัดหนองหญ้าปล้อง ราชบุรี
พระครูปลัดพรหม วัดสัตตนาถปริวัตร
หลวงพ่อทอง วัดหมอสอ กาญจนบุรี
พระครูบรรณกิจสุนทร วัดโพธาราม ราชบุรี
และหลวงพ่อสำอางค์ วัดท่ากระทุ่ม
รวมทั้งหมด 20 รูป
ครั้งที่ 4 วาระสุดท้าย วันที่ 8 ตุลาคม 2509 เวลา 10.30 น.
พระครูพิศิษย์อรรถการ (พ่อท่านคล้าย) วัดจันดี นครศรีธรรมราช
พระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม) วัดช้างไห้ ปัตตานี
เจ้าคุณวิมลกิจจารักษ์ วัดชนะสงคราม กทม.
หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
หลวงพ่อนำ วัดดอนศาลา พัทลุง
หลวงพ่อเยื้อง วัดชะอวด นครศรีธรรมราช
หลวงพ่อวัน วัดรัตนาราม พัทลุง
พระใบฏีกาจำปี วัดโปรตุเกศ ปากเกร็ด นนทบุรี
พระอาจารย์แสวง วัดหนองหญ้าปล้อง
หลวงพ่อแง วัดเจริญสุทธาราม สมุทรสาคร
หลวงพ่อชื้น วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
เจ้าคุณสมุทรสุธี วัดกลางเหนือ สมุทรสงคราม
พระครูพิศาลถาวรกิจ วัดบ้านหม้อ ราชบุรี
พระอาจารย์เล็ก วัดเขาดิน กาญจนบุรี
พระครูเมธาการ วัดโพธิบัลลังก์, หลวงพ่อสง่า วัดหนองม่วง
พระครูวรพตธาดา วัดตาลปากลัด ราชบุรี
พระครูวราภิวัฒน์ วัดบ้านม่วง ราชบุรี
หลวงพ่อหลิว วัดสนามแย้ กาญจนบุรี
พระครูบรรณกิจสุนทร วัดโพธาราม
หลวงพ่อแก้ว วัดหนองเอี่ยม
หลวงพ่อหวล วัดโพธิโสภาราม
พระครูล้น วัดหัวหิน ราชบุรี
และหลวงพ่อสำอางค์ วัดท่ากระทุ่ม
รวม 24 รูป
รักษ์ มีแสง ได้เล่าถึงหลวงพ่อเงิน วัดจันทารามไว้อย่างน่าสนใจว่า
“สำหรับอาจารย์เงินหรือหลวงพ่อเงิน วัดจันทาราม องค์นี้อย่าสงสัยพบเห็นพระเครื่องของท่านที่ไหนให้เก็บเอาไว้ท่านเป็นพระคง แก่เรียน เชี่ยวชาญทั้งสายเขมร และสายกระเหรี่ยง เป็นสหายธรรมกับหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม สมัยมีชีวิตอยู่เคยทำสีผึ้งจนเลื่องลือ โดยเสกสีผึ้งในป่าช้า ทำแจกฟรี แต่คนใกล้วัดมองข้ามไม่สนใจคนไกลกลับเห็นประโยชน์ มีหนุ่มคนหนึ่งปองรักสาวอย่างจริงแท้สาวไม่สนใจ ความรักก็ท่วมอกไปกราบขอคำปรึกษาจากหลวงพ่อ ท่านฟังแล้วเฉยอยู่นาน ในที่สุดก็ลุกขึ้น ไปเอาสีผึ้งมาให้ บอกวิธีใช้อย่างละเอียด เมื่อได้รับสีผึ้งไปแล้วไม่ช้านานก็ได้แต่งงานกับสาวคนนั้น คนทั้งหลายทราบข่าววิ่งไปขอสีผึ้งจากท่านบ้างท่านไม่ให้ จะให้กับบางรายที่เห็นสมควรจริง ๆ”
เรื่องเหรียญหลวงพ่ออโณทัยรุ่นแรกที่หลวงพ่อเงินปลุกเสกไว้ รักษ์ มีแสงได้เล่าว่า
“หลวงพ่ออโณทัยเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่วัดเหรียญรุ่นแรกที่หลวงพ่อ เงินปลุกเสกรูปหลวงพ่ออโณทัยนั้น ใครแขวนไปลอดราวตากผ้า เหรียญจะหายไปอย่างอัศจรรย์”
รักษ์ มีแสง ยังเปรียบเทียบหลวงพ่อเงินไว้กับพระรุ่นใหม่ในปัจจุบันอย่างน่าฟังอีกว่า
“เกจิอาจารย์สายเขมรที่เก่งกาจพอจะเปรียบให้เห็นได้ถึงหลวงพ่อเงินนั้น ยุคนี้เห็นจะมีแต่หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ วัดเพชรบุรี จังหวัดสุรินทร์ กับหลวงพ่อฤทธิ์ รตนโชโต วัดชลประทานราชดำริ จังหวัดบุรีรัมย์เท่านั้น ที่พูดเช่นนี้อย่างที่บอกคือ พระอาจารย์เงิน ไม่โอ้อวด แต่ถ้าหากใครสงสัยมากท่านให้ลองทั้งต่อหน้าและลับหลังเช่นเดียวกับหลวงปู่ หงษ์ หากว่าปากกาและมีดหมอของท่านไม่แน่จริง ท่านไม่คุย วิชาทำปากกานี้ท่านบอกว่าเรียนมาจากอาจารย์ลับแล ห้ามซื้อขายวิชานี้เด็ดขาด ให้คิดแต่ค่าครู ซึ่งต้องมีศีลห้ารับรองไว้ ใครถือศีลห้าไม่ได้เอาไปก็ไม่เกิดประโยชน์ แต่หลวงปู่หงษ์ก็เหมือนพระทางบุ๋น ส่วนหลวงพ่อฤทธิ์ทางบู๊ ชอบอยู่ยงคงกระพัน สมัยก่อนมีศิษย์ไปเป็นไอ้เสือเยอะ เดี๋ยวนี้ เพลา ๆ ลงไป”
รักษ์ มีแสง ได้เล่าถึงหลวงพ่อสง่า วัดหนองม่วงอีกรูปที่เข้าร่วมปลุกเสกพระแก้วมรกต วัดบ้านโป่ง เกือบทุกรอบว่า
“ท่านเป็นพระเชื้อสายมอญ ยังมีชีวิตอยู่ ปกปิดตัวเองมาตลอด แต่ถ้าได้สนิทแล้วอยู่กันน้อยคน จะได้ยินเรื่องแปลกจากท่านเยอะ จะรู้ว่าท่านแตกฉานจริง ทำอะไรทำจริง เรียนรู้อะไรต้องรู้จริงพระเครื่องของท่านถ้าปลุกเสกไม่ได้ที่ จะไม่ยอมแจกเลย กลัวเสียชื่อ พระเครื่องของท่านอนุญาตให้สร้างแจก ไม่อนุญาตให้จำหน่าย อยากได้ต้องขอไม่ขอก็ไม่ให้”
ถ้าพิจารณาดูรายชื่อครูบาอาจารย์ที่เข้าร่วมทำพระแก้วมรกต วัดบ้านโป่งให้ขลัง จะเห็นว่าเป็นคณาจารย์รุ่นเก่าที่มีชื่อเสียงอยู่จนทุกวันนี้หลายรูป อย่างเช่นพ่อท่านคล้าย , อาจารย์ทิม , หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม , หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ ,หลวงพ่อขึ้น วัดตำหนักเหนือ ,หลวงพ่อแก้ว วัดป่า ,หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม เป็นต้น
พระแก้วมรกตวัดบ้านโป่ง จึงให้ถือว่าเป็นพระเครื่องที่พิถีพิถันในการสร้างการเสกที่น่าศรัทธาอย่างยิ่ง อีกรุ่นหนึ่ง
มีคาถาอาราธนาให้ด้วย
“นโมฯ 3 จบ สิเร พุทธะ วะโร เสฏโฐ ติงสะ ปาระมีโย ปิฏเฐ ทะเว อังเส อัคคสาวะ กาปุระโต ปิฏะกัตตะยัง สัพพา ทิสา อะริยะสาวะกา สัพเพ เตปะนะ มามิหัง เอเตนะสัจจะ วัเชนะ โสตถิ โหตุสัพพะทา”
……………………………………………….
เห็นรายนามพระเกจิอาจารย์แต่ละองค์ที่มาร่วมในพิธีพุทธาภิเษกพระแก้วรุ่นนี้แล้วอยากเป็นลม
งานเขียนของคุณอาอำพล เจน หนังสือศักดิ์สิทธิ์ ฉบับที่ 316
วันที่ 1 มี.ค. 2539
———————————————————————–