09.ฤาษีพรหมมุตตมะ รุ่น7
มีผู้สับสนสงสัยถามไปถึงผมมากว่าพระฤาษี รุ่น 7 เป็นรุ่นเดียวกับที่โฆษณาอยู่ทั่วไปว่าเป็นรุ่นฉลองอายุ 96 ปี หรือรุ่นสร้างบันไดใช่หรือไม่
คำตอบคือ ไม่ใช่….
ต่อไปจะได้อธิบายถึงกระบวนการจัดสร้างพระฤาษี รุ่น 7
ชื่อของพระฤาษีรุ่น 7 คือ “ฤาษีพรหมมุตตมะ”
เป็นชื่อเป็นนามที่เกิดจากคำ 2 คำ “พรหมา+อุตตมะ”
เรียกว่าเป็น พระฤาษี 2 อาจารย์ สำเร็จเป็นองค์พระฤาษีที่สมบูรณ์ด้วยอำนาจและบารมีของหลวงปู่พรหมา เขมจาโร สำนักสวนหิน สุดแดนสยามตะวันออก กับหลวงพ่ออุตตมะ อุตฺตมรมฺโภ (พระราชอุดมมงคล) วัดวังก์วิเวการามสุดแดนสยามตะวันตก
เป็นนิมิตหมายแห่งทิวาอันแจ่มใส นับแต่อาทิตย์อุทัยที่อุบลราชธานี ตราบวาระอาทิตย์อัสดงที่กาญจนบุรี
เป็นเรือลำเดียวกันที่มีทั้งหัวเรือและหางเสืออันวิเศษ
เป็นการ Screen ครูบาอาจารย์ผู้ปลุกเสกที่เชื่อหมดใจแล้วว่าสมบูรณ์ยิ่งด้วยบุญ, ด้วยฤทธิ์และบารมีธรรม
และเป็นการปลุกเสกอย่างเต็มใจของทั้ง 2 พระอาจารย์
(รายละเอียดการปลุกเสกจะลงตีพิมพ์ให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง)
มวลสารอันประกอบขึ้นเป็นองค์พระฤาษีทั้งใหญ่และเล็ก
ผงงาช้าง, ผงนิลกาฬ, ผงไม้จันทน์หอม ผงว่านของหลวงพ่ออุตตมะ (เสกผงแล้ว)
ผงเกสรดอกไม้ของอาจารย์ตึง วัดสมเด็จ กาญจนบุรี
ผงดินพุทธคยาและวัดต่างๆในอินเดีย
ผงลบกระดานของอาจารย์ตึง
ผงดินรัตนะของหลวงพ่อสง่า วัดหนองม่วง โพธาราม ราชบุรี
ผง 108 คณาจารย์ของผู้ว่าฯ ณัฐ กาญจนบุรี มอบให้
ผง 108 อาจารย์ของ อ.อนันต์ สวัสดิสวนีย์ มอบให้
ผงพุทธคุณของอาจารย์โอภาสะ
ผงไม้ว่านของหลวงพี่มะแฮ จากพม่า
ผงอิทธิเจมหาลาภ ปี 2534 ของหลวงปู่พรหมา เขมจาโร
ผงพระฤาษีรุ่นแรก-รุ่น 6 ของหลวงปู่พรหมา เขมจาโร
ผงมณฑปพระธาตุจอมทอง เชียงใหม่
ผงดินพระธาตุพนม และพระธาตุท่าอุเทน นครพนม
ผงไม้โพธิ์ตายพราย กิ่งที่ชี้ทางทิศตะวันออก
ผงดินก้นกรุเจดีย์บางขุนพรหม ที่บรรจุพระสมเด็จบางขุนพรหม คุณวรพร ทองดีเลิศ มอบให้
ผงพระบุเรงนองหลังกบ ที่เชื่อกันว่าอาจารย์ของบุเรงนองเป็นผู้สร้างไว้ อาจารย์องค์นี้ เรียกชื่อว่า “ภู ภู เอา” เดิมบวชเป็นพระ ศึกษาจนสำเร็จวิชาปรอท มีฤทธิ์มาก ซึ่งผลที่สำเร็จวิชาปรอท ทำให้เกิดความลังเลว่า ว่าศีล 227 ข้อ อาจรักษาไม่ได้บริสุทธิ์ จึงสึกออกมาบำเพ็ญพรตเป็นพระฤาษีอยู่แต่ในป่าและบุเรงนอง กษัตริย์พม่าเคารพนับถือเป็นอาจารย์ ก่อนเข้าตีไทยได้จัดการขอร้องให้อาจารย์ภูภูเอาสร้างของขลังให้แก่ทหารทั้งหลาย จึงเกิดพระบุเรงนองหลังกบขึ้นมา หลังจากตีไทยสำเร็จแล้วเชื่อว่าได้มีการนำพระบุเรงนองกลับมาคืนอาจารย์ฤาษีภูภูเอา และได้เก็บไว้ในถ้ำตลอดมา
หลวงพ่ออุตตมะได้เล่าว่าสมัยที่ธุดงค์ในป่าพม่าแต่เก่าก่อนนั้นได้เข้าไปถึงถ้ำแห่งนั้นท่านทราบโดยวาระจิตว่าถ้ำนี้มีของดี และสำรวมจิตเป็นสมาธิจนรู้จักว่ามีพระเครื่องที่สร้างโดยฤาษีภูภูเอา พระอาจารย์ของบุเรงนองฝังซ่อนอยู่ แต่ท่านก็ไม่ได้ขุดเอามาแม้แต่องค์เดียว ภายหลังได้เล่าให้ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดฟังจึงถูกรบเร้าให้ไปเอามา ท่านจึงมอบหมายให้ผู้มีวิชาอาคมแก่กล้าไปดำเนินการเอาพระบุเรงนองหลังกบนั้นมา เมื่อนำมาแล้วพบว่าพระแตกหักเสียหายเป็นอันมาก ที่สมบูรณ์ก็ได้แจกจ่ายไปจนหมด
หลวงพ่ออุตตมะได้บอกว่าพระบุเรงนองหลังกบนี้จริงๆ แล้วด้านหลังพระที่ใคร ๆ เห็นว่าเป็นรูปกบนั้นคือ รูปพระฤาษีกำลังเหาะ แต่ทำดูคล้ายกบ จึงเรียกเป็นกบไป และอายุพระชุดนี้ไม่น้อยกว่า 400 ปี
ผงพระบุเรงนองหลังกบนี้ หลวงพ่ออุตตมะได้มีเมตตามอบให้มาเพื่อสร้างรูปเหมือน ขนาดห้อยคอกับรูปเหมือนพิมพ์ 4 เหลี่ยมของท่านเอง ซึ่งทั้งรูปเหมือนของหลวงพ่ออุตตมะกับพระฤาษี รุ่น 7 ก็สำเร็จขึ้นด้วยมวลสารอันเดียวกันทุกประการ (เกี่ยวกับรูปเหมือนหลวงพ่ออุตตมะ จะหาโอกาสลงรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง)
นอกจากนั้นยังมีเกศาของหลวงพ่ออุตตมะ กับเกศาของหลวงปู่พรหมาผสมอยู่ด้วยกันในพระฤาษี รุ่น 7 แต่รูปเหมือนของหลวงพ่ออุตตมะนั้นไม่มีเกศาหลวงปู่พรหมา คงมีแต่เกศาของหลวงพ่ออุตตมะองค์เดียว
ในการนวดมวลสารเพื่
อกดพิมพ์พระฤาษี รุ่น 7 นั้นได้ใช้น้ำมนต์ของหลวงพ่ออุตตมะกับน้ำมนต์ของหลวงปู่อื่นๆ คือ หลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ หลวงปู่เกษม เขมโก หลวงปู่ครูบาด
วงดี วัดท่าจำปี เป็นน้ำนวดผง
ขั้นตอนการปลุกเสก
พระราชอุดมมงคล หรือหลวงพ่ออุตตมะ ปลุกเสกเดี่ยวให้ก่อนเป็นองค์แรกที่วัดวังก์วิเวการาม และหลวงปู่พรหมา เขมจาโร ปลุกเสกเป็นองค์ที่ 2 ที่สำนักสวนหิน อุบลราชธานี
เป็นการปลุกเสกอย่างเต็มใจของทั้ง 2 ท่าน เสกอย่างเจาะจงลงไป มิใช่เสกผ่านเหมือนอย่างพระฝากพิธี
จึงเกิดเป็นพระฤาษี 2 อาจารย์ ฤาษีพรหมมุตตมะอย่างเต็มภูมิ
ในการปลุกเสกพระฤาษี รุ่น 7 และรูปเหมือนของหลวงพ่ออุตตมะนั้น นอกจากจะได้ปลุกเสกตามรายการที่กล่าวมาคือ พระฤาษีพิมพ์ใหญ่ พระฤาษีพิมพ์เล็ก รูปเหมือนลอยองค์ หลวงพ่ออุตตมะ และรูปเหมือนพิมพ์สี่เหลี่ยมแล้ว ยังมีพระฤาษีเนื้อโลหะอีกจำนวนหนึ่ง แต่ว่ารายละเอียดในการเปิดให้บูชาพระฤาษีเนื้อโลหะที่ผนวกเข้าเป็นพระฤาษีรุ่น 7 ด้วยนั้นยังไม่อาจบอกได้ ผู้สนใจพระฤาษี รุ่น 7 เนื้อโลหะ โปรดรออ่านรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
พระฤาษี รุ่น 7 เนื้อโลหะได้เททองหล่อสำเร็จแล้ว ยังแต่จะประกาศให้บูชาเป็นทางการเมื่อไรท่านั้น และที่สำคัญยิ่ง พระฤาษีรุ่น 7 เนื้อโลหะผู้เททองหล่อคือ หลวงพ่ออุตตมะ ท่านเป็นทั้งผู้ให้ฤกษ์เททองและเป็นเจ้าพิธีอัญเชิญเทพยดาและพระฤาษีทุกองค์ให้มาเป็นสักขีพยาน และร่วมสมโภชพระฤาษีที่ท่านเททองด้วยตัวท่านเอง ในวันอาทิพตย์ที่ 10 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เวลาประมาณ 9 โมงเช้า
นี่ก็ถือว่าเป็นพระฤาษีเนื้อโลหะที่น่าสนใจอีกรุ่นหนึ่ง
ขอให้ทุกท่านเข้าใจอีกว่า หลวงพ่ออุตตมะท่านไม่เคยเททองรูปอื่น ๆ เว้นแต่รูปของท่านเอง หรือรูปพระพุทธเจ้า ดังนั้นนี่จึงถือว่าเป็นการเททองรูปพระฤาษีครั้งแรกของท่าน ซึ่งหลวงพ่อได้กล่าวว่า ประคำก็เป็นของที่เกิดด้วยมือพระฤาษี เมื่อท่านจะได้เททองหล่อรูปพระฤาษี จึงเป็นเรื่องที่สมควรยินดี และควรแก่การอนุโมทนาด้วย
นับเป็นวาสนาของพระฤาษีรุ่น 7 ยิ่งแล้ว
ผู้ที่ได้เป็นเจ้าของ ก็ควรค่าแก่ความภูมิใจเช่นกัน
ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า พระฤาษีรุ่น 7 ที่เปิดให้บูชาในขณะนี้คือ พระฤาษีเนื้อผงเท่านั้น ส่วนพระฤาษีเนื้อโลหะ และรูปเหมือนหลวงพ่ออุตตมะ ต้องรอฟังข่าวที่แน่ชัดอีกทีว่าจะให้บูชาอย่างไร ที่ไหน และเมื่อไร
พระฤาษีเนื้อผงพิมพ์ใหญ่ มีลักษระตามรูปประกอบที่ลงตีพิมพ์แล้ว ใต้ฐานอุดด้วยผงพิเศษคือ อังคารธาตุหลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่ดูลย์ อตุโล, หลวงปู่บัว สิริปุณโณ ผงผ้ายันต์เก่าแก่นับ 100 ผืน นับ 100 อาจารย์ อังคารหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ผงลบกระดานของอาจารย์ตึง ผงบุเรงนองหลังกบ (ทั้งผสมในเนื้อพระและเนื้ออุดก้นพระ) และผงเก่าเก็บหลายหลายชนิดที่เหลือวิสัยจะจดจำได้
ผงที่อุดก้นพระฤาษีรุ่น 7 นี้ยังได้ผ่านการปลุกเสกมาแล้วโดยหลวงปู่คำพันธ์ หลวปู่ชอบ หลวงปู่ศรีจันทร์ หลวงปู่บุญจันทร์ ฯลฯ จึงเรียกว่าเป็นการรวมความวิเศษไว้อย่างแท้จริง
ทั้งพระฤาษีพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก มวลสารและผงอุดก้นทำขึ้นเหมือนกันทุกประการ