พระธาตุอิงฮังต้นแบบพระนาคเกี้ยว

p1030377 p1030378

มีวาสนาได้ไปสักการะพระธาตุอิงฮังครั้งแรกราวปี ๒๕๓๙-๒๕๔๐

ปีนั้นพระธาตุอิงฮังมีเพียงชาวเหวียดและลาวเป็นส่วนใหญ่ที่สนใจมากราบไหว้สักการะ

ปัจจุบันคนทั่วไปไม่แยกเชื้อชาติวรรณะรู้จักและศรัทธามานบไหว้พระธาตุกันมากขึ้น

เมื่อจะเข้าไปภายในวัดพระธาตุอิงฮังวันนี้ต้องซื้อปี้
คนลาว ๒,๐๐๐ กีบ (๘ บาทกว่า)
คนต่างชาติ ๕,๐๐๐ กีบ (๒๐ บาท กว่า)

p1030416

—-

อยากบอกว่าถ้าใครมีเวลาและมีโอกาสได้ไปถึงสะหวันนะเขดแล้วโปรดอย่ามองข้าม

พระธาตุอิงฮังอยู่ห่างจากตัวเมืองสะหวันเขดเพียง ๑๐ กว่า กม.

ไปง่ายมาง่ายสะดวกสบายทุกประการ

 p1030394

—-

อิงฮัง=พิงรัง

อิงฮัง หมายถึง  พิงต้นรัง

ใครพิง?

พระพุทธเจ้าพิง

ทำไมจึงพิง?

พระองค์ทรงเสวยภัตตาหารทำจากเนื้อหมู
หลังจากนั้นทรงเกิดอาพาธอาหารเป็นพิษ
จึงทรงเอนพระวรกายลงพิงต้นรังเพื่อผ่อนคลายทุกขเวทนา

ตันรังที่พระองค์ทรงพิงอยู่ที่ไหน?

อยู่ข้างในพระธาตุเจดีย์
ทุกวันนี้เหลือเพียงตอ
ศรัทธาชนคนโบราณได้สร้างพระเจดีย์ครอบเอาไว้นานแล้ว

ได้ยินว่า..ความเชื่อเรื่องนี้เป็นเหตุให้ชาวบ้านทาดอิงฮัง ไม่เลี้ยงหมู จนทุกวันนี้

จริงเท็จอย่างไรไม่ทราบ
ยังไม่ได้สอบถามดู

—-

ว่ากันว่าพระธาตุอิงฮังสร้างขึ้นในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบอง หรือ โคตรบูรณ์ ประมาณพ.ศ.400 ในสมัยพระเจ้าสุมิตธรรมวงศา

พุทธศาสนิกชนสองฝั่งโขงยกย่องให้เป็นพระธาตุคู่ขวัญกันกับพระธาตุพนม ด้วยความเชื่อว่าถูกสร้างในยุคสมัยเดียวกัน

—- 

p1030380 140901035756

พระธาตุอิงฮังเป็นต้นแบบพระนาคเกี้ยว

หลวงปู่คำพันธ์เคยถามว่า นึกอย่างไรจึงคิดทำพระนาคเกี้ยวลักษณะเช่นนี้ขึ้นมา

กราบเรียนท่านว่า เพราะได้ไปเห็นรูปพระนาคเกี้ยวที่องค์พระธาตุอิงฮัง เกิดความชอบใจ จึงเอารูปแบบนั้นมา

หลวงปู่บอกว่า “ดี.. ฉลาดเลือกทำ”

_10_384

เพราะเหตุนี้พระธาตุอิงฮังจึงเป็นปูชนียสถานที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนจะมีความระลึกถึงอยู่เสมอ

p1030415

แชร์ :

ความคิดเห็น

** โปรดแสดงความคิดเห็นอย่างมีวิจารณญาน