พระธาตุโพ่น

16996896_1527253337326827_77701258_n 16996553_1527236160661878_1887986400_n

17006178_1527236290661865_443259526_n 17035179_1527236433995184_1634004108_n

พระธาตุโพ่น
พระธาตุโพน
ພະທາດໂຜ່ນ

แขวงสุวรรณเขต
ແຂວງສະຫວັນນະເຂດ
แขวงสะหวันนะเขต

พระธาตุโพ่น เดิมเป็นปราสาท(ຜາສາດ)สร้างขึ้นแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ
เป็นรูปแบบหนึ่งที่ถูกเรียกว่า-การแปลงปราสาทเป็นธาตุ
คือเอาสิ่งปลูกสร้างตามคติพุทธครอบทับสิ่งปลูกสร้างคติพรามหณ์ในสมัยหลัง

คนลาวเชื่อว่าพระธาตุโพ่นสร้างขึ้นพร้อมกันกับพระธาตุอิงฮัง
แต่ดูเหมือนว่าพระธาตุโพ่นจะเป็นที่ศรัทธาของชาวลาวและชาวไทยมากกว่าพระธาตุอิงฮัง
ร่ำลือว่าศักดิ์สิทธิ์ทรงมหิทธานุภาพ ผู้ใดบนบานสิ่งใดมักได้ผลสำเร็จอย่างน่าอัศจรรย์

16990701_1527236640661830_678255433_o 16990782_1527235140661980_277671845_o

17015170_1527241750661319_752509830_o 17035863_1527241610661333_969246412_o

ชิ่อพระธาตุโพ่นมีการเขียนไว้ต่างๆกัน

โพน (ໂພນ), โพ่น(ໂພ່ນ) และโผ่น (ໂຜ່ນ)

โพน (ໂພນ)มีความหมายว่าดินที่พูนสูงขึ้นเรียกว่าดินพูน หรือดินพูนขึ้นของจอมปลวกก็เรียกว่าโพนปลวก

โพ่น (ໂພ່ນ)และโผ่น (ໂຜ່ນ)ต่างแต่สำเนียงที่ออกเสียงเป็น โพ่น หรือ โผ่น
มีความหมายเป็นอย่างเดียวกันว่า พุง
ไม่ใช่ พุง ในความหมายว่าคนอ้วนลงพุง
แต่หมายถึงท้องของคนที่บรรจุกระเพาะอาหารตับไตไส้พุงไว้ข้างในทั้งหมด
ขี้โพ่นก็เรียก  – ขี้โผ่นก็เรียก

คนไทยนิยมเขียนว่า-โพ่น(ໂພ່ນ) แต่คนลาวนิยมเขียนว่า-โผ่น(ໂຜ່ນ)

16990227_1527235887328572_1670551608_o

(อยู่อำเภอวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ก็มี”บ้านหนองตาโผ่น” เรื่องเล่าเดิมๆบอกว่า ที่นี่เคยมีหนองน้ำซึ่งคนชอบเอา(ขี้)โผ่นของวัวควายมาทิ้งใส่บ่อยๆ)

—-

ພະທາດໂຜ່ນ ຫຼື ເຈົ້າແທ່ນຄໍາເຫຼືອງ ເມືອງໄຊພູທອງ ແຂວງສະຫວັນນະເຂດ
ຕັ້ງຢູ່ຫ່າງຈາກເທສະບານເມືອງໄຊພູທອງປະມານ 22 ກິໂລແມັດ ຕາມເສັ້ນທາງເລກທີ 13 ໃຕ້ ມຸ່ງໜ້າສູ່ແຂວງຈໍາປາສັກ,
ຕາມຕຳນານໄດ້ກ່າວໄວ້ວ່າ: ພະທາດອົງນີ້ສ້າງຂຶ້ນໃນຕອນຄ່ຳຂອງວັນພຸດເດືອນ 12 ພສ 236
ສ້າງ ດ້ວຍຫີນເຂົ້າຈີ່ ຫຼື ເອີ້ນວ່າ (ຫີນໜາມໜໍ່) ກໍເປັນທາດອຸໂມງ (ຮູບໂອຂວ້ຳ) ກວ້າງດ້ານລະ 12 ວາ
ສ້າງມື້ໜຶ່ງກັບຄືນໜຶ່ງກໍສຳເລັດມາເຖິງປະຈຸບັນນີ້ມີອາຍຸເຖິງ 2.500 ປີ,
ສະນັ້ນສະຖານທີ່ແຫ່ງນີ້ຈຶ່ງຖືວ່າເປັນມໍລະດົກຕົກທອດ,
ເປັນຊັບສົມບັດມິ່ງເມືອງທີ່ມີຄ່າສູງ,
ໂດດເດັ່ນທາງດ້ານວັດທະນະທຳອັນລ້ຳຄ່າ ແລະເປັນປະຫວັດສາດ
ຊຶ່ງຕິດພັນກັບແບບແຜນດຳລົງຊີວິດຂອງປະຊາຊົນລາວບັນດາເຜົ່າມາແຕ່ດຶກດຳບັນ
ແລະຍັງເປັນສະຖານທີ່ທ່ອງທ່ຽວທາງດ້ານວັດທະນະທຳທີ່ສຳຄັນ ແລະມີຊື່ສຽງອີກແຫ່ງໜຶ່ງຂອງ ແຂວງສະຫວັນນະເຂດ.

พะทาดโผ่น หลือ เจ้าแท่นคำเหลือง เมืองไซพูทอง แขวงสะหวันนะเขด
ตั้งยู่ห่างจากเทสะบานเมืองไซพูทอง 22 กิโลแม้ด ตามเส้นทางเลกที่ 13 ใต้ มุ่งหน้าสู่แขวงจำปาสัก,
ตามตำนานได้ก่าวไว้ว่า : พะทาดองนี้ส้างขึ้นในตอนค่ำของวันพุดเดือน 12 พส 236
ส้างด้วยหินเข้าจี่ หลือ เอิ้นว่า : (หินหนามหน่อ)ก่อเป็นทาดอุโมง(ฮูปโอขว้ำ)กว้างด้านละ 12 วา
ส้างมื้อหนึ่งกับคืนหนึ่งก็สำเล็ดมาเถิงปะจุบันนี้มีอายุ 2,500 ปี,
สะนั้นสะถานที่แห่งนี้จึงถือว่าเป็นมอละดกตกทอด,
เป็นสมบัดมิ่งเมืองที่มีค่าสูง,
โดดเด่นทางด้านวัดทะนะทำอันล้ำค่า และเป็นปะหวัดสาด
ซึ่งติดพันกับแบบแผนดำลงซีวิดของปะซาซนลาวบันดาเผ่ามาแต่ดึกดำบัน
และยังเป็นสะถานที่ท่องเที่ยวทางด้านวัดทะนะทำที่สำคัน และมีซื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของแขวงสะหวันนะเขด.

 

17016607_1527237543995073_1864286166_o 16990654_1527241290661365_725879211_o

ภูมิประเทศโดยรอบสถานที่พระธาตุโพ่นมีต้นตาลปลูกไว้พอสมควร
ชาวบ้านสามารถผลิตน้ำตาลจากลูกตาลและนำออกมาวางขายภายในบริเวณวัด
ว่ากันว่าน้ำตาลจากต้นตาลหวานหอมอร่อยมาก

มีผู้ตั้งข้อสังเกตุดูว่าทำไมทุกๆที่ซึ่งมีปราสาทสมัยขอมตั้งอยู่ จึงมักจะพบเห็นว่ามีต้นตาลอยู่ด้วยเป็นจำนวนไม่น้อย
นั่นเพราะเหตุว่า คติเครื่องบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิของชาวฮินดู นิยมใช้น้ำตาลจากต้นตาล
บางทีการปลูกต้นตาลไว้รอบๆบริเวณปราสาทก็เพื่อประโยชน์เดียวกัน ซึ่งนอกจากจะใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาแล้ว ยังจะใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารคาวหวานได้อีกด้วย

17006242_1527238197328341_1401765001_n

การเดินทางไปวัดพะทาดโผ่น สามารถทำได้ ๒ ทาง

1/ใช้เส้นสาย 9B เมืองไกสอน – บ้านหลัก 35 ระยะทางประมาณ 30 กว่า กม. เลี้ยวขวาไปตามเส้นสาย 13 อีกประมาณ 15-16 กม. แล้วเลี้ยวขวาไปเมืองไซพูทองอีกราว 20 กว่า กม.

2/ ใช้เส้นทางเลียบแม่น้ำโขงลงไปทางใต้ จะใกล้กว่าครึ่งต่อครึ่ง คือราวๆ 30 กม.เท่านั้น เส้นทางนี้จะผ่าน”เฮือนหิน” ซึ่งเป็นปราสาทขอมหลังเล็กๆด้วย

แชร์ :

ความคิดเห็น

** โปรดแสดงความคิดเห็นอย่างมีวิจารณญาน