รู้แก่ใจว่าตนเองเป็นกะเทยอย่าบวชดีกว่า

ปวดหัวกับเรื่องตีความ
 
 
พระวินัยห้ามบัณเฑาะก์บวช
ก็จะตีความว่าบัณเฑาะก์คือคนที่มีอวัยวะ ๒ เพศ
คนกะเทยก็เถียงว่าพวกตนไม่มีอวัยวะ ๒ เพศ
ย่อมบวชได้
ไม่ผิดพระวินัย
โดยที่จะไม่ยอมตีความไปที่เป็นคนมีจิตใจวิปริตสองเพศและมีการล่วงละเมิดทางเพศกับเพศเดียวกัน
 
 
ระหว่างการสวดอันตรยิกธรรม
ขณะทำการอุปสมบท
มีคำถามว่า “ปุริโสสิ?”
แปลว่า ท่านเป็นบุรุษหรือไม่?
 
คำถามนี้ถามถึงเรื่องการมีอวัยวะ ๒ เพศเท่านั้นหรือ?
 
 
บัณเฑาะก์ แปลว่า กะเทย
 
ยังใช้เรียกผู้หญิงได้ด้วยว่า หญิงบัณเฑาะก์
 
บางทีสมัยนั้นยังไม่มีการบัญญัติศัพท์เรียกเลสเบี้ยนว่าอะไร
 
กะเทยหรือที่เรียกว่าชายบัณเฑาะก์ คือผู้ที่พอใจให้บุรุษเกี่ยวข้องกับตนโดยมีความรู้สึกตนว่าเป็นเหมือนอิสตรี
 
 
อุภโตพยัญชนก เท่านั้นที่แปลว่า คนมีทั้ง ๒ เพศ
 
 
มีการแบ่งแยกบัณเฑาะก์ออกได้ ๕ จำพวก
 
๑ อาสิตตบัณเฑาะก์ ได้แก่ ชายที่มีกิจกรรมทางเพศกับชายด้วยกัน
 
๒ อุสุยยบัณเฑาะก์ ได้แก่ ชายที่ไม่ถึงกับมีกิจกรรมทางเพศ แต่เพียงแค่พอใจที่จะชมชอบชายด้วยกัน
 
๓ โอปักกมิยบัณเฑาะก์ ได้แก่ บุคคลผู้ที่ถูกตอนไปแล้ว เช่นขันที
 
๔ ปักขบัณเฑาะก์ ได้แก่ บุคคลบางคนข้างแรมเกิดความกำหนัด
ยินดีกระวนกระวายด้วยอำนาจแห่งอกุศลกรรม เมื่อถึงข้างขึ้น ความกระวนกระวายนั้นก็หายไป
 
๕ นปุงสกับบัณเฑาะก์ ได้แก่ ผู้ที่ไม่มีเพศหญิงเพศชายไม่ปรากฏทั้ง ๒ เพศ มีแต่ช่องที่สำหรับถ่ายปัสสาวะเท่านั้น
 
 
โอปักกมิยบัณเฑาะก์ กับ นปุงสกับบัณเฑาะก์ ห้ามบวช
 
 
อาสิตตบัณเฑาะก์ และ อุสุยยบัณเฑาะก์ ไม่ถูกห้ามบวช
 
ปักขบัณเฑาะก์ ห้ามบวชให้ระหว่างเวลาที่ถึงกาลมีกำหนัดราคะเกิดขึ้น ถ้าเป็นเวลาที่จิตใจสงบระงับจากความปรารถนากามราคะต่อเพศเดียวกัน สามารถบวชให้ได้
 
บัณเฑาะก์ ๓ พวกนี้ ยังพอมีทางที่จะปฏิบัติจนหลุดพ้นจากบ่วงผูกมัดตนในการหลงใหลในเพศเดียวกัน
 
 
ด้วยความเห็นส่วนตัว ยังเชื่อว่าผู้มีราคะแก่กล้า ประพฤตินอกจารีตในทางเสพกามและยั่วยวนชายอื่นนั่นคืออันตรายต่อผ้าเหลืองเป็นอย่างยิ่ง
 
ข้อห้ามระหว่างพระกับสีกานั้นมี
ข้อห้ามระหว่างพระกับบุรุษด้วยกันไม่มี
 
ถ้ากะเทยไม่ถูกพระวินัยห้าม
จะช้าจะเร็ว
อะไรก็เกิดวิปริตขึ้นได้
 
หากธรรมะไม่มีพลังพอที่ข่มขาดปรารถนาราคะต่อชายด้วยกันให้สะบั้นลงไป
 
 
จริงๆแล้วการอนุญาตกะเทยบวชก็พอเป็นเหตุเป็นผลได้เช่นกัน
 
แต่ทำไมไม่มีพระวินัยบังคับกะเทยหลังบวชเป็นพระแล้วว่าจะต้องวางตัวอย่างไรในสังคมผ้าเหลือง
 
พระกับชียังมีข้อบังคับ ทั้งห้ามและอนุญาต ให้วางตัวได้อย่างไรแบบไหน
 
—-
 
ทั้งกะเทยและบุรุษแท้ต่างก็มีกิเลศราคะเหมือนกัน
 
บุรุษแท้มีราคะกับสตรีแท้
กะเทยมีราคะกับบุรุษเพศเดียวกัน
 
คนทั้ง ๒ ชนิดนี้มีราคาเท่ากัน
 
ต่างต้องลงมือปฏิบัติขจัดราคะด้วยกันเช่นกัน
 
—-
 
จะว่าไปแล้วการบวชเพื่อปฏิบัติธรรมนั้น สามารถทำได้หลายระดับ
 
บวชชี บวชผ้าขาว หรือบวชใจเป็นฆราวาสรักษาศีลปฏิบัติธรรม ทุกคนทำได้ไม่มีข้อห้าม
 
แต่บวชเพื่อห่มผ้าเหลืองนั้นกะเทยไม่ควรทำ
 
 
พระกับสีกามีพระวินัยห้ามมากหลายข้อ
ยังเรียกว่ามีข้อบังคับช่วยป้องปรามไว้ไม่เกิดการกระทำผิดทางกามราคะทางกาย ระหว่างพระ(บุรุษ)กับสีกา(ผู้หญิง)
 
แต่พระกับบรุษด้วยกันแทบจะไม่มีวินัยห้าม
คนเป็นกะเทยเมื่อไม่มีข้อบังคับป้องปรามกระทำผิดทางกามราคะทางกาย เพียงเพราะตีความว่าเป็นคนเพศเดียวกัน คือเป็นบุรุษ ก็เท่ากับเปิดช่องทางให้โอกาสกระทำผิดทางกามราคะเกิดขึ้นได้ง่ายเกินไป
 
อย่างนี้ไม่ถูกต้องแน่
 
 
ต้องตรวจดูพระวินัยหมวดอื่นๆข้ออื่นๆประกอบการพิจารณาเรื่องกะเทย
 
 
ฝากปราชญ์ผู้รู้วินิจฉัยและวิจารณ์ต่อไป
 
 
อย่างน้อยก็จะถือเอา ม. 44 “โลกวัชชะ” มาลองใช้ดู
 
ถ้าสังคมติเตียนว่าไม่ดีไม่ถูกต้องก็ควรให้เลิก
 
เว้นแต่สังคมในวันนี้ไม่ถือสาหาความกะเทยบวชพระก็แล้วไป
https://www.facebook.com/LaoSpy/videos/pcb.1809289242660678/1809288942660708/?type=3&theater
แชร์ :

ความคิดเห็น

** โปรดแสดงความคิดเห็นอย่างมีวิจารณญาน