ภาพถ่ายสำเร็จลุนมีจริงหรือไม่?
ในความเห็นของผมค่อนข้างแน่ใจว่าไม่มี
ถ้ามีก็ไม่มีทางรู้ว่าภาพไหนคือสำเร็จลุนจริงๆ
ภาพที่นิยมนำมาเผยแพร่ว่าเป็นภาพสำเร็จลุนนั้นคือภาพพระภิกษุรูปหนึ่งนั่งอยู่กับพัดยศ ซึ่งถ้าหากพิจารณาดูพัดยศนั้นก็จะเห็นว่าเป็นพัดรองไอยราบรรพตที่ทำขึ้นเพื่อถวายแด่สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ ในโอกาศงานงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พศ.๒๔๑๖
พระภิกษุในภาพจึงสมควรจะเป็นพระภิกษุไทยองค์ใดองค์หนึ่งไม่ใช่พระภิกษุลาว
ต่อมาได้มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้กันอย่างกว้างขวางและยาวนาน จนกระทั่งได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่าพระภิกษุในภาพนั้นคือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม ธมฺมสโร) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรวิหาร(วัดโพธิ์) ท่าเตียน กทม. ซึ่งขณะนั้นมีอายุได้ประมาณ ๒๐ ปี เพิ่งได้รับสมณศักดิ์พระราชมุนี พระราชาคณะชั้นราช
(ภาพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม ธมฺมสโร) ขณะมีอายุได้ ๒๐ ปี สมณศักดิ์เป็นพระราชมุนี พระราชาคณะชั้นราช)
(ภาพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม ธมฺมสโร)ขณะมีอายุได้ ๗๐ ปี)
ส่วนภาพที่ปรากฏอยู่วัดเวินไซ ซึ่งเป็นวัดที่สำเร็จลุนเคยพำนักอยู่บั้นปลายชีวิต และมรณภาพอยู่ที่นั่น ก็เป็นภาพที่เพี้ยนมาจากภาพวาดพระครูเทพโลกอุดรที่คนอุปโลกน์ขึ้นมาเช่นเดียวกัน
(ภาพสำเร็จลุนที่เพี้ยนมาจากภาพพระครูเทพโลกอุดรที่อุปโลกน์ขึ้นมาจากภาพพระใบกีฏาพรหม วัดบางปูน จ.สิงห์บุรี)
ผู้ที่ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับสำเร็จลุนที่น่าสนใจรับฟังคือหลวงปู่พรหมา เขมจาโร
ท่านบอกกับผมว่า คนที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนกันมากๆกับสำเร็จลุนคือ หลวงปู่นาค ภูริปญฺโญ วัดป่าใหญ่ ( พระครูนวกรรมโกวิท วัดมหาวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี พ.ศ. ๒๔๔๐ – ๒๕๒๘ )
เพียงแค่สำเร็จลุนจะมีสีผิวขาวกว่าหลวงปู่นาค
อาจกล่าวได้ว่า สำเร็จลุน กับ หลวงปู่นาค เหมือนจนแทบจะเป็นคนเดียวกัน
(หลวงปู่นาค ภูริปัญโญ)