บุญฤทธิ์พระโพธิญาณเถร–หลวงพ่อชารุ่นออกน้ำมนต์
หลวงพ่อชาองค์นี้ มีแปลกประหลาดตรงที่หากว่าอากาศชื้นฟ้าชื้นฝน จะเกิดหยดน้ำออกมาจากองค์พระมาเกาะที่ผิวอย่างเห็นได้ชัด
Read moreข้อมูลเกี่ยวกับพระเครื่อง ธรรมมะ ปฏิปทา เกร็ดน่ารู้ เกี่ยวกับหลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง จากหนังสือ บุญฤทธิ์พระโพธิญาณเถร และบทความอื่นๆที่อำพล เจน เขียนถึงหลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง
หลวงพ่อชาองค์นี้ มีแปลกประหลาดตรงที่หากว่าอากาศชื้นฟ้าชื้นฝน จะเกิดหยดน้ำออกมาจากองค์พระมาเกาะที่ผิวอย่างเห็นได้ชัด
Read moreของดกล่าวถึงชื่อผู้ขออนุญาต ซึ่งผู้ขออนุญาตสร้างและได้รับอนุญาตแล้วแต่ว่าหลวงพ่อห้ามไม่ให้ทำเป็นรูปของท่าน คงให้ทำแต่รูปเจดีย์ (พระธาตุโพธิญาณ) แต่ผู้สร้างก็ทำเป็นรูปท่านนั่งบนขอนไม้ถือไม้เท้าด้วยมือขวา ด้านหลังจึงทำเป็นรูปเจดีย์
Read moreปลายปี พ.ศ. 2518 หลวงพ่อเดินทางไปประเทศอังกฤษ คุณชัยสิทธิได้ปรึกษากับท่านอาจารย์ข้อง พระเลขาฯ ของหลวงพ่อว่าจะสร้างพระเป็นที่ระลึกเวลาหลวงพ่อกลับ จึงมีจดหมายไปกราบขออนุญาต ซึ่งหลวงพ่อได้ตอบกลับมาว่าให้สร้างแต่พอสมควร
Read moreผู้สร้างเหรียญพระแก้วมรกต เป็นข้าราชการพัฒนาที่ดิน (ไม่ทราบชื่อ) ได้ขออนุญาตสร้างเพื่อแจกเป็นของที่ระลึกในโอกาสจะย้ายออกจากจังหวัดอุบลราชธานี โดยขออนุญาตสร้างประมาณ 300 เหรียญ เมื่อสร้างเสร็จนำมาถวาย หลวงพ่อก็รับเหรียญทั้งหมดนำไปไว้ใต้ฐานพระประธานในศาลาการเปรียญหลังเก่า (ปัจจุบันรื้อสร้างใหม่) เป็นเวลานานวันระหว่างที่กำลังจะเข้าพรรษา ครั้นออกพรรษาแล้วผู้สร้างมาขอรับเหรียญกลับคืน หลวงพ่อก็มอบให้ไปทั้งหมด ผู้สร้างได้แบ่งออกถวายหลวงพ่อ 35 เหรียญ
Read moreคณะผู้สร้างได้มากราบขออนุญาตหลวงพ่อสร้างวัตถุมงคลเพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับนักเรียนนายเรืออากาศรุ่นที่กำลังจะจบในปีนั้น
Read moreพระเครื่องพิมพ์นี้ร่วมมือกันสร้างขึ้นสามคน คือร้านง่วนอัง, คุณอ๊อด และอีกคนไม่ทราบชื่อ แต่เป็นเจ้าของแผงหนังสือพิมพ์ที่โรงหนังศิริสิน (ปัจจุบันโรงหนังยุบเลิกแล้ว) ขณะที่กำลังมีการกดพิมพ์พระชุดนั้น คุณชัยสิทธิ์ เตชะศิริธนะกุล ไปกราบหลวงพ่อที่วัดหนองป่าพงพอดี หลวงพ่อได้กบ่าวว่า “เขาขอรูปเฮาไปทำล็อกเกต ดันไปทำเป็นบล็อกทองเหลืองมา โน่นกำลังกดอยู่ในหอฉัน ไปดูสิ” ขณะที่กดกันอยู่ในวัดคราวนั้นมีทั้งหมด 104 องค์แล้ว นำพระถวายหลวงพ่อแล้ว คณะผู้จัดสร้างได้ขอบล็อกกลับคืนไปก่อน
Read moreระหว่างปี 2514-2515 ก็มีการสร้างพระเครื่องถวายท่านแจกหลายรุ่นหลายพิมพ์ แต่ไม่สามารถจะรวบรวมหรือเรียงตามลำดับก่อนหลังได้
Read moreสืบเนื่องจากบล็อกหลวงพ่อชารุ่นแรกและรุ่นสอง คือรุ่นหลังใบไม้และหลังเรียบ เป็นบล็อกที่หลวงพ่อเห็นว่าไม่มีหน้าไม่มีตา จึงมอบบล็อกให้นายคล้าย ธีรมาตรไปแกะใหม่ โดยทำให้มีหน้ามีตามีจมูกชัดเจนขึ้น
Read moreอาจารย์โพธิ ขัมภรัตน์ เจ้าของโรงเรียนเอนกวิทยา จังหวัดอุบลฯ เป็นผู้สร้างถวาย โดยว่าจ้างนายคล้าย ธีรมาตร แกะบล็อก และได้ผงสำหรับสร้างจากมรรคทายกริน วัดป่าใหญ่ (พระเจ้าใหญ่อินแปลง)
Read moreสืบเนื่องจากบล็อกที่คุณกฤษณะและแม่ชีวิไลนำมาถวาย หลวงพ่อก็ได้อนุญาตให้มีการสร้างพระเครื่องเนื้อผงขึ้นเป็นครั้งแรกโดยใช้บล็อกดังกล่าว ผู้ที่ได้เข้าร่วมกดพิมพ์พระคนหนึ่งคือคุณชัยสิทธิ เตชะศิริชนะกุล ซึ่งได้เล่าว่าพิธีกดพระทำขึ้นที่ใต้ถุนกุฏิหลวงพ่อทำกันเองในหมู่ลูกศิษย์ใกล้ชิด
Read more